หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม
ต่อยอดสู่การเป็นครูหัวใจใหม่ การศึกษาแบบองค์รวม
ครูการศึกษาแบบองค์รวม หรือ Holistic Teacher
เป็นผู้ที่ความศรัทธาในความเป็นครูของตน มี “ดุลยภาพแห่งชีวิต” ทั้งทางกายและใจ (Mental & Spiritual Health) พร้อมที่เผชิญความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน มีจิตใจที่มั่นคง มีความรักความเมตตาในการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจด้วยใจปรกติ เป็นปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาการเรียนรู้ให้งอกงามเต็มตามศักยภาพของพวกเขาได้
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม
ภาษาอังกฤษ Master of Education Program in Holistic Education
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาแบบองค์รวม)
ชื่อย่อ ศษ.ม. (การศึกษาแบบองค์รวม)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Master of Education (Holistic Education)
ชื่อย่อ M.Ed. (Holistic Education)
วิชาเอก
การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียน
แผน ก แบบ ก.2 และแผน ข. หน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งส่งเสริมนักศึกษาในการเรียนรู้และฝึกฝนตนเองเป็นนักวิชาการการศึกษาแบบองค์รวม หรือนักบริหารและจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้อย่างองค์รวมในสาระวิชาที่นักศึกษามุ่งที่จะถ่ายทอด ดังนั้นจึงได้จัดดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาโท 2 ปี เป็นแผน ก. แบบ ก. 2 เรียนรายวิชาและศึกษาวิทยานิพนธ์ และแผน ข. เรียนรายวิชาและศึกษาสารนิพนธ์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2558
ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
เอกสารตำราภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา
รับผู้เข้าศึกษาชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันอาศรมศิลป์ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรงและมีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
ผู้เข้าเป็นนักศึกษาต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับขั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขาวิชา และมีคุณสมบัติทั่วไปเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันอาศรมศิลป์ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร
• มีสุขภาพจิตดี และมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคในการศึกษา
• ผ่านการสอบคัดเลือกวิชาภาษาไทยตามเกณฑ์ของสถาบันอาศรมศิลป์
• ผ่านการสอบสัมภาษณ์ตามเกณฑ์ของสถาบันอาศรมศิลป์
วิชาพื้นฐาน
ASI 401 มงคลชีวิต (ไม่นับหน่วยกิต)
(Contemplative Practices and Holistic Well Being)
การสร้างพื้นฐานการพัฒนาชีวิต ด้วยการฝึกฝนและบ่มเพาะญาณทัศนะ โดยอาศัยกัลยาณมิตรและชุมชนที่สมานฉันท์ ผ่านกระบวนการแห่งภาวนา 4 คือ ศีลภาวนา กายภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา รวมทั้งการสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ของสถาบันอาศรมศิลป์โดยเชื่อมโยงกับจิตวิทยาพื้นฐาน จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา หลักธรรมาภิบาล ความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม จริยธรรมของวิชาชีพครู การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสำนึกสาธารณะและเสียสละให้สังคม ฝึกฝนการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการยอมรับความคิดเห็นจากวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดปรัชญาของศิลปะการดูแลสุขภาพและการป้องกันตัววิถีไทยผ่านคติความเชื่อของศาสตร์ตะวันออกองค์ความรู้ด้านการดูแลและป้องกันตัววิถีไทยวิธีการนำศิลปะการป้องกันตัวมาใช้ในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ
ASI 403 ภาษาและเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (ไม่นับหน่วยกิต)
(Language and Communication Technology for Learning)
การใช้ภาษาไทยภาษาต่างประเทศ และวัฒนธรรมไทย ในการเป็นครูและพัฒนาวิชาชีพครู ทักษะในการสื่อสาร แปลความ จับประเด็นจากการอ่านและการเขียน การพูดในที่สาธารณะ วิธีการนำเสนองาน การเขียนงานเชิงวิชาการ ทักษะในการสืบค้น การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น อินเตอร์เนต สื่อมัลติมีเดีย โซเชี่ยลมีเดีย ฯลฯ การแสวงหาความรู้และเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารในการเข้าถึงองค์ความรู้ทั้ง บุคคล แหล่งความรู้และแหล่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทันต่อยุคสมัย หลักการ แนวคิด การออกแบบ การประยุกต์ใช้และการประเมินนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร การนำเสนองานผ่านเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาและวัฒนธรรม
วิชาบังคับ
HEA 501 สารัตถะแห่งการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร
(Essence of Education and CurriculumDevelopment)
ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย วิสัยทัศน์และแผนพัฒนา การศึกษาไทย ตลอดจนปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม ทฤษฎีหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร มาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
HEA 502 จิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
(Learning Psychology and Brain – Based Learning)
จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ การทำงานของสมองส่วนต่างๆที่มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลตามวัยและภาวะการเจริญเติบโตของโครงข่ายเซลล์สมอง การเรียนรู้ผ่านปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ และแบบแผนเชิงตรรกะไปจนถึงระบบที่สลับซับซ้อน และกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูง จิตวิทยาการศึกษา การฝึกฝนทดลองเผชิญสถานการณ์และปฏิสัมพันธ์ต่างๆ รวมทั้งการประยุกต์พื้นฐานของจิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษาเพื่อสามารถให้คำแนะนำในการเรียนรู้แก่นักเรียนแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม
HEA503 การเรียนรู้แบบบูรณาการ การวัดและประเมินผล
(Integrative Learning and Education Assessment)
ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การออกแบบและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบูรณาการสาระการเรียนรู้ การเรียนแบบเรียนรวม วิทยาการจัดการเรียนรู้ การใช้ การผลิตสื่อ และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การคิดอย่างเป็นระบบ หลักและเทคนิคการวัดและประเมินผลการศึกษา การสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผล ด้านความรู้และความคิด ด้านทักษะและกระบวนการ รวมทั้งด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินผลประเภทต่างๆ ทั้งการประเมินตามสภาพจริง การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน การประเมินภาคปฏิบัติ การประเมินการทำงานเป็นกลุ่มย่อยและแบบรวม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และมีความสอดคล้องกับหลักประกันคุณภาพทางการศึกษา
HEA 504 จิตวิญญาณความเป็นครู
(Conscience of Teacher)
ครูกับการพัฒนาชีวิตในแต่ละช่วงวัยของนักเรียน บทบาทและกระบวนการพัฒนาตน คุณธรรมของครู คุณลักษณ์ของครู คุณค่าของครู สมรรถนะของครู การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู พัฒนาการของวิชาชีพครู การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และการเป็นผู้นำทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
HEA 505 การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
(Professional Learning Community)
หลักและทฤษฎีการบริหารจัดการระบบการศึกษา การคิดอย่างเป็นระบบและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาห้องเรียน องค์กรและชุมชนแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ การออกแบบกระบวนการและโครงการเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้และความสัมพันธ์อันดี การมีส่วนร่วมของบุคคลต่างๆ ในการศึกษาเพื่อพัฒนาห้องเรียน องค์กรชุมชน และท้องถิ่น โดยออกแบบเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น โครงการวิชาการ การฝึกอาชีพ กิจกรรมพัฒนา และระบบสารสนเทศตลอดจนส่งเสริม การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำทางการศึกษา
HEA 506 การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
(Research for Learning Innovation Development)
ปรัชญาและธรรมชาติของการวิจัย ประเภทของการวิจัย กระบวนการวิจัย และหลักการออกแบบการวิจัยทางการศึกษาแบบต่าง ๆ ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และการผสมผสานวิธี ที่สัมพันธ์กับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ นวัตกรรม Waldorf, Reggio Emilia, Balance Literacy, Matal Program, Whole Language, Multiple Intelligence, BBL, Open Approach, Holistic Education,จิตตปัญญาศึกษา ฯลฯรวมทั้งการจัดกระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ ศิลปะ สื่อตำราและสื่อสารสนเทศอื่นๆ การกําหนดกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกใช้สถิติหลักการและเทคนิคการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาการเขียนโครงการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย การประเมิน การสังเคราะห์และการนําผลการวิจัยไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
HEA 507 สัมมนาการศึกษาแบบองค์รวม
(Seminaron Holistic Education)
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอการอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ในแนวคิดและบริบทการศึกษาทั้งตะวันตกและตะวันออก ที่นำไปสู่การทำความเข้าใจและการปฏิบัติ ตลอดจนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ความรู้เรื่องดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาแบบองค์รวม
วิชาเลือก
HEA 531 การบริหารการศึกษาแนวพุทธ
(Management of Buddhist Approach to Education)
การประยุกต์องค์ความรู้จากปรัชญาของพุทธศาสนา สู่การศึกษา 2ระดับ ได้แก่ระดับปัจเจกบุคคลและระดับบริหารสถานศึกษา การนำเสนอความหมายของพระพุทธศาสนาในแนวทางการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม การศึกษาเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา (มรรคมีองค์ 8) สู่การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งสามารถพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และตระหนักในคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การใชัหลักธรรมคือกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการเพื่อพัฒนากระบวนการบริหารการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา และบทบาทครูที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้บนสถานการณ์จริง การจัดการสถานศึกษาดัวยหลักธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยระบบการประเมินผลตามหลักกุศลกรรมบท 10ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลากรมีการปฏิบัติภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4สามารถทบทวนตนเอง สะท้อนคิดและบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะ และร่วมกันพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม
HEA 571 หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
(Principle of Educational Administration Process)
ศึกษาและวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ระบบการจัดการศึกษา การบริหารงานวิชาการเพื่อคุณภาพและความเป็นเลิศ การบริหารองค์กร สำนักงาน งานบุคคล ธุรการ การเงิน พัสดุ อาคารสถานที่ การวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการบริหารการศึกษารวมทั้งการระดมทรัพยากรทางการศึกษา การกำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ การปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานทางการศึกษา บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นและสังคม ในการจัดการศึกษาอย่างมีจิตวิญญาณ และอุดมการณ์ ตลอดจนการพัฒนาวิชาชีพ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา แนวคิดการจัดการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการศึกษาและการเรียนรู้การบริหารงานระบบเครือข่าย และการจัดการความรู้วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
HEA 572 การนิเทศการศึกษาและพัฒนาคุณภาพครู
(Supervision and Teacher Development)
ศึกษาหลักและแนวคิดการนิเทศการศึกษา เทคนิคการนิเทศรูปแบบต่างๆ การพัฒนาคุณภาพครูผ่านการปฏิบัติงานจริงด้วยความเป็นกัลยาณมิตร บทบาทของศึกษานิเทศก์ในการพัฒนาศักยภาพครู ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน และเหมาะสมกับบริบทสถานศึกษาที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เติบโตตามศักยภาพรายบุคคลส่งเสริมให้ครูมีความเป็นผู้นำในการกล้าคิด กล้าเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด กล้าแสดงออกอย่างถูกกาละเทศะ ค้นคว้ารูปแบบและนำเสนอการพัฒนาศักยภาพของครูด้วยกิจกรรมทางวิชาการ และสังเคราะห์ระบบการนิเทศอย่างครบวงจร ตามบริบทมหภาค และภูมิสังคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีการสอนของครูแต่ละคน พัฒนาวิธีคิด และการตรวจสอบตัวเอง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมภาวะผู้นำ จิตวิทยาการนิเทศ และเทคนิคการสื่อสาร การสร้างปฏิสัมพันธ์เพื่อลดความขัดแย้งและพัฒนาคณะทำงานอย่างมีส่วนร่วม การสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น การกำกับ ติดตาม ส่งเสริม และประเมินสถานศึกษา
HEA 573 นโยบาย การวางแผนและการประกันคุณภาพการศึกษา
(Strategic Policy and Quality Assurance in Education)
ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดนโยบาย การวางแผนการศึกษาที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม การวางแผนดำเนินการ การวางระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก และนำผลการประกันคุณภาพ มากำหนดนโยบายใหม่ กรณีศึกษาภาวะผู้นำ พฤติกรรมผู้นำ ตลอดจน ผู้นำที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี การวางระบบกำกับ ติดตาม ส่งเสริม การประเมินสถานศึกษาและนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
HEA 601 การบริหารจัดการวัฒนธรรม
(Culture Management)
ศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีวัฒนธรรม วัฒนธรรมเชิงเปรียบเทียบและการจัดการข้ามวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรม รูปแบบและความแตกต่างของวัฒนธรรมรวมทั้งงานสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมแขนงต่างๆ การจัดการแบบไทยและวัฒนธรรมการจัดการข้ามชาติ สู่การออกแบบการบริหารองค์กรให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์และขั้นตอนการก้าวสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้
HEA 602 กระบวนทัศน์ทางการศึกษาพิเศษ
(Paradigm in Special Education)
การปรับเปลี่ยนแนวทางที่มุ่งรักษา “โรค” ไปสู่การช่วยเหลือ “คน” โดยเริ่มต้นจากการประเมินพัฒนาการแบบ องค์รวม เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบการรับรู้ การประมวลผล และระบบสั่งการกล้ามเนื้อของเด็กรายบุคคลไปสู่ การกระตุ้นพัฒนาการพื้นฐานด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับระบบประสาทของเด็กแต่ละคน โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์กับผู้ใกล้ชิดในสถานการณ์จริง (Developmental Individual difference Relationship-based, DIR approach)การศึกษาให้เกิดความเข้าใจถึงลักษณะของเด็กพิเศษกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (ปัญญาเลิศ) รู้เทคนิควิธีการสังเกตพฤติกรรมและความเข้าใจเพื่อหาความสามารถเฉพาะ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาดนตรี กีฬา ศิลปะฯ ทั้งนี้เพื่อให้ครูมีมุมมองในการช่วยเหลือหรือปรับลดพฤติกรรมของเด็กให้เป็นปกติ มีแนวคิดในการจัดการชั้นเรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาเด็ก ทั้งการจัดทำหลักสูตรแบบเพิ่มประสบการณ์ การขยายหลักสูตร การย่นระยะเวลาเรียนรวมถึงการใช้ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาตลอดจนการพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ สังคม และการสร้างเสริมคุณธรรม
HEA 603 ศิลปะการพัฒนาชีวิตแบบองค์รวม
(Life Developmental Art in Hoistic)
การฝึกฝนอายตนะทั้ง 6 ต่อการรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัว เพื่อสร้างสมดุลย์ของสุขภาวะทางกาย-ใจ สู่การใคร่ครวญเพื่อให้เกิดความเข้าใจตนเอง ผู้คนรอบข้างและสภาพแวดล้อมที่ตนเข้าไปสัมพันธ์ จนเกิดความสงบร่มเย็น ในการบริหารจัดการพัฒนาชีวิตของตน ผ่านการเจริญสติภาวนา และการทำกิจกรรมทางศิลปะและการดูแลสุขภาพที่หลากหลาย เช่น จริยศิลป์ โยคะ การดูแลสุขภาพวิถีไทย
วิชาเลือกพิเศษ
HEA 560 วิทยานิพนธ์ 1
(Thesis) การกำหนดปัญหาการวิจัย วางแผนการวิจัย ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ ออกแบบการวิจัยในด้านการเลือกหรือกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การออกแบบ การวัดตัวแปร การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำโครงการวิทยานิพนธ์และนำเสนออนุมัติโครงการวิทยานิพนธ์
HEA 560 วิทยานิพนธ์ 2 (Thesis)
สร้างเครื่องมือวิจัย ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การเสนอผลสรุปและอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การเสนอร่างบทความวิจัยสำหรับการเผยแพร่ การเขียนและเรียบเรียงรายงานการวิจัยและการนำเสนอรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ในการสอบปกป้องวิทยานิพนธ์
HEA 570 สารนิพนธ์ (Master Project)
การศึกษาค้นคว้าเชิงลึกด้านการศึกษาแบบองค์รวมทั้งกลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน และ/หรือการบริหารการศึกษา ในหัวข้อที่สนใจ การทำรายงานสารนิพนธ์โดยใช้รูปแบบและกระบวนการวิจัยภายใต้การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทุกรูปแบบทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ดังนี้
- ผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนการศึกษาในระบบ
- ผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
- วิทยากรกระบวนการเพื่อการฝึกอบรมด้านการจัดการศึกษาในทุกระบบและทุกรูปแบบ
- นักวิชาการศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และการบริหารการศึกษา
- นักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และการบริหารการศึกษา
- ผู้ริเริ่มในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบบ้านเรียน (Home school)
- ผู้นิเทศการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
**หมายเหตุ** หลักสูตรนี้มุ่งผลิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวมที่เป็นนักวิชาการทางการศึกษาแบบองค์รวม หรือนักบริหารการศึกษา และจัดการเรียนรู้อย่างองค์รวมในสาระวิชาและระดับชั้นต่างๆ (ปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษา การศึกษาตามอัธยาศัย ฯลฯ)
อัตราค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร
ก.ค่าธรรมเนียมในการสมัครและสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ทุกหลักสูตร 700 บาท (ชำระเมื่อยื่นใบสมัคร)
ข.ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา*
(เฉพาะภาคศึกษาแรกที่เข้าศึกษา) 1,000 บาท
ค.ค่าบำรุงการศึกษา (อัตราต่อภาคการศึกษา)
• ค่าบำรุงกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1,000 บาท
• ค่ากิจกรรมนักศึกษาและกิจกรรมกีฬา
1,000 บาท
•ค่าบำรุงห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์
1,000 บาท
• ค่าบำรุงสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต
1,500 บาท
• ค่าบำรุงห้องสมุด
1,500 บาท
• ค่าอุปกรณ์ปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ *
2,000 บาท
ง.ค่าลงทะเบียนหน่วยกิต
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม หน่วยกิตละ 2,700 บาท
จ.ค่าลงทะเบียนหน่วยกิตแบบเหมาจ่ายเฉพาะหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม
จำนวนเงิน 142,000 บาท
ให้นักศึกษาชำระภาคการศึกษาแรก จำนวน 36,250 บาท และ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่สองภาคการศึกษาละ 35,250 บาท มีรายละเอียดดังนี้
• ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียนหน่วยกิต
ภาคการศึกษาละ 35,250 บาท ระยะเวลา 2 ปี จำนวน 141,000 บาท
• ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
1,000 บาท ในภาคการศึกษาแรก
หมายเหตุ : อัตราค่าลงทะเบียนหน่วยกิตแบบเหมาจ่ายทุกหลักสูตร ยังไม่รวม ค่าธรรมเนียมในการสมัคร/สอบคัดเลือก และ ค่าใช้จ่ายช่วงสาเร็จการศึกษา
ฉ.ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
• ค่าปรับลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด
โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน (วันละ) 200 บาท
หากมีความจำเป็นขอให้ทำหนังสือชี้แจงมายังสถาบันฯเพื่อพิจารณา มิฉะนั้นการลงทะเบียนนั้นเป็นโมฆะ
• ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพนักศึกษา
ระดับปริญญาโท (ภาคการศึกษาละ) 2,000 บาท
• ค่าหนังสือแสดงผลการศึกษา
150 บาท
• หนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษา
150 บาท
• ค่าขอเทียบโอนวิชาจากสถาบันอื่น
(ครั้งละ) 1,500 บาท
• ค่าธรรมเนียมนำเสนอโครงร่างและสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
5,000 บาท
• ค่าธรรมเนียมบัตรนักศึกษาที่ขอใหม่
(ใบละ) 200 บาท
• ค่าธรรมเนียมช่วงสำเร็จหลักสูตร
5,000 บาท
• ค่ากิจกรรมภาคสนามในประเทศและต่างประเทศ
พิจารณาตามความเหมาะสม
ช. ค่าปรับการส่งหนังสือห้องสมุดเกินกำหนด
• หนังสือทั่วไป
(เล่ม/วันละ) 10 บาท
• หนังสือจอง
(เล่ม/ชั่วโมง) 10 บาท
• หนังสือจอง
(วันละ) 80 บาท
1.สอบอะไรบ้าง
การสอบข้อเขียน ประกอบด้วย
– วัดความรู้ และทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ การตีความ บทความภาษาไทย
– วัดความรู้ และทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ การตีความ บทความภาษาอังกฤษ
สำหรับการสัมภาษณ์ เน้นที่ทักษะการพูด โดยเฉพาะการพูดในที่ชุมชน ครับ โดยสุ่มหยิบเรื่องจากกรรมการสอบ (หมายรวมถึงในห้องเรียน ในสถานศึกษา และชุมชนโดยรอบ)
2.ได้ใบประกอบวิชาชีพไหม
ที่ผ่านมาได้ใบประกอบวิชาชีพทันที แต่ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปทางคุรุสภาได้ออกกฏใหม่ ให้ผู้ที่ต้องการใบประกอววิชาชีพครูต้องไปสอบกับคุรุสภา ซึ่งทางเราจะออกใบรับรองเพื่อพร้อมไปสอบให้
ความเป็นครู
ทั้งกายและใจ
จากรุ่นสู่รุ่น
สาขาการศึกษาแบบองค์รวม
สาขาการศึกษาแบบองค์รวม รุ่นที่ 6
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ ดร.จันทนา จินดาพันธ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู สถาบันอาศรมศิลป์ และลูกศิษย์ของอาจารย์ คุณครูนัท นันทกานต์ อัศวะตั้งตระกูลดี ศิษย์เก่าหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และเทียบโอนหน่วยกิตเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม