ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะและอาคารสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (THAI HEALTH PROMOTION FOUNDATION)

ความเป็นมา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. มีภารกิจในการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะ โดยเน้นการมีสุขภาวะที่ดีพร้อมทั้งกาย จิตใจ สังคม และทางปัญญา เพื่อระบบสุขภาพที่ดีของชาวไทยอย่างยั่งยืน มีพันธกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาขบวนการสร้างสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะยั่งยืนของประชาชนและสังคมไทย มีความประสงค์ที่จะสร้าง ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะและอาคารสำนักงานขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร และเป็นพื้นที่สาธิตให้ประชาชนเข้าใจและร่วมกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. อย่างเป็นรูปธรรม

เป้าหมายและการเข้าสู่เป้าหมายในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม

1.

สร้างสถาปัตยกรรมที่สนองต่อวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ และภารกิจของสสส. ด้วยการเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรม

สุขภาวะทางใจ

  • ออกแบบให้มีพื้นที่ “อาศรมสุขภาวะ” สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานกิจกรรมการภาวนา ในบริเวณสำคัญของอาคารเพื่อสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์แก่ผู้ใช้งานและผู้มาเยือน
  • ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้อาคารทุกกลุ่มด้วยพื้นที่พบปะ พูดคุย เรียนรู้ และทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งในพื้นที่สาธารณะและส่วนสำนักงาน
  • สะท้อนความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้อาคารได้สัมผัสและซึมซับพลังจากธรรมชาติผ่านโถงทางเข้า พื้นที่สวนภายในอาคาร และ Garden Balcony ในส่วนต่างๆของอาคาร

สุขภาวะทางกาย

  • สร้างสภาวะน่าสบายภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ด้วยวิธีธรรมชาติ (PASSIVE DESIGN) เพื่อประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนให้ผู้ใช้อาคารมีโอกาสในการออกกำลังกาย ด้วยการ บันไดเชื่อมระหว่างชั้นให้มีความร่มรื่น สร้างแรงจูงใจในการเดินแทนการใช้ลิฟต์ และ
  • ออกแบบอาคารและสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มีพื้นที่สีเขียวและต้นไม้เพื่อสร้างความร่มเย็น และบรรยากาศที่ร่มรื่นให้กับผู้ใช้สอยอาคาร รวมถึงการกำหนดให้มี GARDEN BALCONY และ URBAN FARM ROOF

2.

สอดคล้องกับวิถีการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรของ สสส. ในการเป็นองค์กรสาธารณะแห่งการเรียนรู้

  • เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ รวมถึงบุคคลภายนอก ผ่านโถงบันไดมิตรภาพที่เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้น รวมถึงการออกแบบให้มี TRANSITION SPACE และห้องประชุมเพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ ที่สามารถเข้าถึงและมองเห็นกันและกันได้จากบริเวณโถงกลาง

  • จัดลำดับความสัมพันธ์ของที่ว่างจาก PERSONAL SPACE สู่ COMMUNUAL SPACE และ PUBLIC SPACE เพื่อเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกผ่อนคลายและมีสมาธิ ในการทำงาน และการเรียนรู้ส่วนตัวด้วย

  • ออกแบบอาคารให้มีลักษณะโปร่ง โล่ง เชื้อเชิญ แสดงถึงความโปร่งใส จริงใจ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เป็นกันเอง ทั้งต่อผู้ใช้งานและผู้มา

  • เปิดพื้นที่ 4 ชั้นล่างให้เป็นพื้นที่ใช้สอยและจัดกิจกรรมสำหรับสาธารณะ โดยการกำหนดให้ส่วนสำนักงานอยู่บริเวณชั้นบนของอาคาร สื่อนัยยะถึงการเป็น “องค์กรสาธารณะ” ที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ

3.

เป็นสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และเมือง

  • เว้นที่ว่างด้านหน้าและด้านข้างของอาคารให้มากที่สุด เพื่อลดความรู้สึกหนาแน่นให้กับพื้นที่รอบข้างที่เป็นเขตชุมชน และเปิดเป็น PUBLIC POCKET SPACE ให้กับเมือง

  • กำหนดความสูงอาคารไม่เกิน 5 ชั้น และมีระยะถอยร่นโดยรอบ เพื่อลดผลกระทบทางสายตาต่อพื้นที่โดยรอบ และไม่ให้อาคารมีสัดส่วนที่ข่มอาคารข้างเคียง

  • ออกแบบอาคารให้มีรูปทรงโปร่ง เบา มีที่ว่างเชื่อมต่อกับบริเวณโดยรอบ และออกแบบให้มีที่ว่างและต้นไม้ใหญ่รอบอาคาร เพื่อให้สัมผัสที่อ่อนโยนกับพื้นที่โดยรอบ

  • เลือกใช้วัสดุก่อสร้างและพื้นผิวที่เป็นธรรมชาติ เช่น อิฐ หิน และไม้ ให้ความรู้สึกที่อบอุ่น อ่อนโยนต่อผู้ใช้งาน สร้างความคุ้นเคย ไม่แปลกแยก

4.

เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงความเป็นไทยอย่างร่วมสมัย

  • ถอดรหัสภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้นที่แสดงออกถึงความเคารพธรรมชาติ และสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศมาใช้ในการออกแบบ ทั้งการ
    กันแดด กันฝน และการเปิดพื้นที่โล่งเพื่อระบายอากาศ

  • นำองค์ประกอบตกแต่งสถาปัตยกรรมที่เป็นภูมิปัญญาของไทยมาใช้ในอาคาร เช่น การตกแต่งภาพจิตรกรรมฝาผนังในพื้นที่สำคัญ การจัดวางประติมากรรม บริเวณด้านหน้าอาคารและอาศรมสุขภาวะ รวมถึงการใช้แผงกันแดดที่นำรูปแบบมาจากงานเครื่องจักสานของไทย

5.

สร้างสถาปัตยกรรมสีเขียว (GREEN ARCHITECTURE) ให้เป็นต้นแบบการมีสุขภาวะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สร้างอาคารต้นแบบเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่อาศัยในสภาวะน่าสบายที่อิงกับธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน โดยมีเป้าในการยื่นรับการประเมินอาคารเขียว LEED ระดับ PLATINUM จากสภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. GREEN BUILDING COUNCIL) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รูปทรงอาคารและการกันแดด (BUILDING FORM & SOLAR ORIENTATION)
    ออกแบบอาคารให้มีลักษณะโอบล้อมพื้นที่โถงกลางเพื่อให้ร่มเงาอาคารช่วยบังแดดให้สามารถใช้พื้นที่โถงกลางได้ในเวลากลางวัน และช่วยให้อาคารบังเงากันเอง (SELF-SHADING) ร่วมกับการออกแบบแผงกันแดดบริเวณริมนอกอาคารที่ได้รับการคำนวณมุมองศาดวงอาทิตย์ (SOLAR GEOMETRY) อย่างแม่นยำ ด้วยโปรแกรม ECOTECT ANALYSISและการติดตั้งระบบแผงกันแดดอัตโนมัติให้หมุนพลิกตามทิศทางของดวงอาทิตย์ตลอดเวลา (SUN TRACKING SHADING DEVICE) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับประเทศไทย
  • การเปิดรับลมธรรมชาติ (NATURAL VENTILATION)
    ออกแบบผังอาคารให้โปร่งโล่งคล้ายเรือนไทย ให้ลมสามารถไหลผ่านพื้นที่ภายในอาคารได้จากทุกทิศทางอย่างมีประสิทธิภาพผ่านคอร์ทกลาง โถงบันได และโถง ทางเดินต่างๆ โดยการศึกษาวิเคราะห์ทิศทางลมร่วมกับการจำลองการเคลื่อนไหวลมผ่านโปรแกรม CFD (COMPUTATIONAL FLUID DYNAMICS) จนได้ทิศทางและขนาดของช่องเปิดที่เหมาะสมเพื่อให้คอร์ทกลางมีลมธรรมชาติตลอดเวลา
  • ผนังอาคารและหลังคา (HIGH-EFFICIENT ENVELOPE)
    ระบบเปลือกอาคารที่สามารถกันการถ่ายเทความร้อนได้ดี โดยการติดตั้งฉนวนที่ผนังและหลังคา การจัดให้มีพื้นที่พักผ่อนและเรียนรู้สวนหลังคา (URBAN FARM ROOF) ที่ช่วยดูดซับรังสีดวงอาทิตย์และเพิ่มความเย็นให้กับอาคาร รวมถึงการใช้กระจกประสิทธิภาพสูงชนิด INSULATE LOW-E แสงธรรมชาติและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (DAYLIGHTING & LIGHTING) ด้วยการออกแบบแผงกันแดดที่เหมาะสมจึงสามารถเปิดให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคารได้มาก รวมถึงการออกแบบ LIGHT SHELF ที่ช่วยกระจายแสงธรรมชาติสู่พื้นที่ใช้งาน และการออกแบบไฟแสงสว่างที่มีประสิทธิภาพสูงในระบบ TASK & ANBIENT LIGHTING ที่ช่วยถนอมสายตาและประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในส่วนพื้นที่จอดรถใต้ดินซึ่งตามปกติต้องเปิดไฟตลอดเวลาผ่านปล่องนำแสง หรือ LIGHT TUBE และ ม้านั่ง SKYLIGHT ที่ได้รับ
    การออกแบบเป็นพิเศษจากสนามหญ้าด้านบน
  • ระบบปรับอากาศ (AIR-CONDITIONING & VENTILATION SYSTEM)
    ติดตั้งระบบปรับอากาศที่สามารถปรับกำลังผลิตความเย็นได้เหมาะสมกับการใช้งานโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการติดตั้งร่วมกันทั้งระบบ WATER COOLED WATER CHILLER สำหรับพื้นที่สำนักงานทั่วไป และระบบ VARIABLE REFRIGERANT FLOW (VRF) สำหรับห้องประชุมใหญ่ที่ไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ ร่วมกับการติดตั้ง CO2 SENSOR ที่ตรวจจับปริมาณก๊าซ
  • คาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่ปล่อยมาจากผู้ใช้อาคาร เพื่อคำนวณปริมาณอากาศบริสุทธิ์ที่จะนำเข้ามาเติมได้อย่างเพียงพอและไม่สิ้นเปลืองพลังงาน
    ด้วยระบบ DEMAND CONTROL VENTILATION (DCV) การตกแต่งภายในและวัสดุ (GREEN MATERIALS & DECORATION) ตกแต่งภายในอาคารด้วยวัสดุที่มีส่วนผสมรีไซเคิลเช่น GREEN BOARD และวัสดุที่ธรรมชาติที่โตไวปลูกทดแทนได้ (RENEWABLE MATERIAL) เช่น หวาย ไม้ไผ่ และไม้ไผ่อัด (PLYBOO) รวมถึงการใช้กาว ซิลิโคน สี และสารเคลือบผิวที่ปลอดสารพิษ
  • การรีไซเคิลน้ำทิ้ง (WATER RECYCLE SYSTEM)
    ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียโดยแยกท่อน้ำทิ้งเพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการกรองด้วยระบบ ULTRAFILTRATION และนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อรดน้ำต้นไม้ ราดส้วม และเติมน้ำในหอผึ่งเย็นของระบบปรับอากาศ (COOLING TOWER) ทำให้ช่วยประหยัดน้ำประปาได้กว่า 40% และลดการปล่อยน้ำเสียอีกกว่า 50% รวมถึงการติดตั้งระบบน้ำหยดในพื้นที่สวนที่ช่วยลดการใช้น้ำเพื่อลดต้นไม้ได้กว่า 50%
  • การใช้พลังงานทดแทน (RENEWABLE ENERGY)
    ติดตั้งระบบผลิตพลังงานจากโซลาร์เซลล์บริเวณหลังคาคลุมคอร์ทกลางที่มีลักษณะเอียงเป็นฟันเลื่อยทำมุมเอียง 15 องศาไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นมุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรับพลังงาน
  • แสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี
    ทำให้ประหยัดพลังงานได้กว่า 55,000 kWh / ปีการตรวจสอบและประกันคุณภาพระบบอาคาร (COMMISSIONING) มีระบบผู้ตรวจสอบการติดตั้งและทดสอบระบบอาคารอย่างเข้มงวด รวมถึงการติดตั้งมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าที่ใช้ และที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ โดยนำมาแสดงผล
    บนจอมอนิเตอร์บริเวณ
  • บันไดทางขึ้นอาคารเพื่อสร้างความรับรู้และตระหนักในการใช้พลังงานตลอดเวลา
    การประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
    จากการจำลองการใช้พลังงานของอาคารด้วยโปรแกรม VisualDOE ได้ผลว่าอาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะนี้สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ 30% เมื่อเทียบกับมาตรฐานการใช้พลังงาน ASHRAE 90.1-2007 ซึ่งเป็นมาตรฐานการออกแบบพลังงานสำหรับอาคารโดยสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งสหรัฐอเมริกา